อาหารต้านซึมเศร้า
ซึมเศร้า เป็นอาการเจ็บอย่างหนึ่งของสมองขอมนุษย์คล้ายการเจ็บป่วยร่างกายทั่วๆไป คือการที่สมองมีการหลั่งสารเคมีบางอย่างที่ผิดปกติไป ผู้ที่เป็นมักจะมีอาการซึม เบื่อและไม่อยากที่จะทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน มักจะนึกถึงเหตุการณ์ที่ผ่านๆมาในอดีตซึ่งมันอาจจะดูมีความสุขมากกว่าปัจจุบัน
ผู้เขียนก็เป็นคนนึงที่เคยสัมผัสกับอาการดังกล่าวและปจจุบันก็ยังมีบางบางครั้งที่รู้สึกเช่น เคยทั้งรักษาจากการกินยากนานนับ 10ปี ซึ่งมันก็ไม่ใช่สิ่งที่เราจะสามารถทำให้มันหายได้อย่างเด็ดขาด ปัจจุบันผมเลือกที่จะหยุดยาและเพราะอาการไม่ได้มากมายเหมือนเก่า เราสามารถที่จะอยู่กับมันและดำรงชีวิตต่อไปกับมันได้ ซึ่งผู้เขียนก็พยายามศึกษาหาวิธีการที่จะต่อสู้ด้วยตัวเองอยู่เสมอ และสิ่งจะมาใช้ต่อสู้กับอาการของโรคนี้ ก็มีหลายวิธี ซึ่งบทความนี้จะพูดถึง เรื่องอาหารเป็นหลัก เรามาดูกันว่าอาหารที่สามารถต้านอาการซึมเศร้าได้นั้นมีอะไรบ้าง
โปรตีน
โปรตีนเมื่อเรากินเข้าไปก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงเป็น อะมิโน แอซิด หลายชนิด ซึ่งอะมิโนแอซิด นี้ก็มีทั้ง ช่วยรักษาอาการซึมเศร้า หรือแม้แต่กระตุ้นให้อาการของเรากำเริบมากกว่าเดิมได้
ซึ่งผมจะพูดถึง ชนิดที่เป็นผลร้ายกับโรคก่อน นั่นก็คือ
Arginine อาร์จินีน นั่นเอง ซึ่งกรดอะมิโนตัวนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีปัญหารึมีอาการเจ็บป่วยทรมานทางจิตใจ ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะป่วยอะไรต่างๆทางสมอง
ที่นี้เรามาดูที่เป็นผลดีกับโรคเราบ้างมีอยู่ด้วยกับหลายตัวมาก
1.
Tryptophan ทริปโตเฟน คนที่มีอาการซึมเศร้าแม้จะรู้สึกซึมแต่เวลาที่คนเค้านอนกันเรากลับไม่หลับ
ตัวนี้เป็นตัวสำคัญมากที่ช่วยให้ร่างกายสร้างฮอร์โมน เซโรโทนิน และเมลาโทนินได้อย่างเป็นปกติ ให้ร่างกายเราพักผ่อนได้ดีขึ้น พบใน กล้วย นม ไข่แดง ถั่วลิสง อัลมอนด์ เต้าหู้ เจดาชีส แป้งสาลี
2.
Tyrosine : ไทโรซีน ไทโรซีนยังช่วยส่งผ่านความรู้สึกของระบบประสาทไปยังสมอง ช่วยแก้ไขอารมณ์ซึมเศร้า
ช่วยฟื้นฟูความจำ เป็นสารที่แปรสภาพมาจาก
Phenylalanine
3.
Phenylalanine : ฟีนิลอะลานีน ช่วยเพิ่มความจำ และกระตุ้นความตื่นตัวของประสาท ช่วยให้รู้สึกรื่นเริง พบใน เนื้อต่างๆ ปลา ไข่ ผลิตภัณฑ์จากถั่ว
เนย นมพร่องมันเนย อัลมอนด์ พีนัท ฟักทอง มันฝรั่ง งา ธัญพืช
4.
Methionine : เมไธโอนีน ทำให้เรารู้สึกมีความสุขขึ้นได้จากการได้รับสารชนิดนี้ แหล่งอาหารที่แนะนำคือ ไก่ ครับ ปัจจุบันอาหารเม็ดที่เลี้ยงในฟาร์ม มักจะมีสารตัวนี้สูงจึงทำให้เนื้อไก่มีสารอาหารชนิดนี้มากตามไปด้วย
5. L-Glutamin แอลกูลตามีน เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องมากที่สุด เพื่อช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อต่างๆ
ซึ่งเป็นกรดอะมิโนตัวเดียวจาก 4ตัว ข้างต้นที่ผมแนะนำว่ากินจากอาหารเสริมได้เพราะมีผลเสียน้อยที่สุดเมื่อได้รับมากๆเกินไป ซึ่งตามตำราที่ผมเคยอ่าน ใช้คู่กับกระอะมิโนไกลซีน Glycine สามารถใช้เป็นยารักษาโรคทางจิตได้แทบทุกชนิด
นอกจาก อะมิโนแอซิดข้างต้น ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่ผมจะแนะนำเพื่อให้หาได้ง่ายขึ้น
กล้วยเป็นผลไม้ที่ได้รับการยอมรับแล้วว่า สามารถที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า รู้สึกดีขึ้นได้จริง นั่นเป็นเพราะ กล้วยมีกรดอะมิโนที่ชื่อว่า โพรไบโอติก ซึ่งกรดอะมิโนตัวนี้เอง ที่จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนเซโรโทนิน ให้สร้างสารสื่อประสาท ที่มีชื่อว่า โมโนเอมีน ซึ่งสารสื่อประสาทดังกล่าว จะทำให้ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะของโรคซึมเศร้า รู้สึกมีความสุข และมีพลังงานมากขึ้น และนอกจากนี้แล้ว การกินกล้วยเป็นประจำ ยังให้ผลดีในเรื่องของการช่วยป้องกัน อาการปวดกล้ามเนื้อ และช่วยลดการสูญเสียแคลเซียมได้อีกทางหนึ่งด้วย
โกโก้คุณคงจะเคยได้ยินมาแล้วว่า การกินช็อกโกแลตหรือโกโก้ จะช่วยให้รู้สึกอารมณ์ดีขึ้นมาได้ ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่เพียงแค่เพียงความรู้สึก หรือเป็นข้ออ้างเพื่อที่จะได้รับประทานของหวานได้แต่อย่างใด เพราะมีงานวิจัยหลายชิ้นทีเดียว ที่บอกว่าการรับประทานโกโก้ หรือการกินช็อกโกแลต จะทำให้สารแห่งความสุขอย่าง เอนโดรฟิน ถูกหลั่งออกมาจากสมอง และสารเอนโดรฟินนี่เอง ที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุขมากขึ้น และเมื่อรวมกับความรู้สึกพึงพอใจ ที่ได้กินของหวานด้วยแล้ว ส่งผลทำให้โกโก้ ช่วยเติมเต็มความรู้สึก ของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี
โอเมก้า 3เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า การขาดสารอาหารบางอย่าง โดยเฉพาะ กรดโอเมก้า 3 นั้น มีผลอย่างมากกับการทำงานของสารสื่อประสาท รวมไปถึงกรดไขมันอย่าง DHA ด้วย ยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยง ในการที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากสมองของเรานั้นมีไขมันอยู่มากถึง 60% การขาดไขมันมากๆจะทำให้สมองของเราทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งการป้องกันสามารถทำได้ โดยเลือกรับประทานปลาแซลมอน หรือปลาที่มาจากน้ำลึกเป็นประจำ
เชอรี่งานการวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าการกินเชอร์รี่มากถึง 20 ผล จะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้มากกว่าการกินยา เนื่องจากในผลเชอร์รี่มีสารที่ชื่อว่า แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีในเชอร์รี่ ทำให้ผลไม้ชนิดนี้มีสีสันสดใส และมีสรรพคุณที่สำคัญคือ ทำให้คนกินมีความสุข ด้วยเหตุนี้แพทย์ตะวันตกจึงเรียกเชอร์รี่ ว่า เป็นแอสไพรินธรรมชาติ
สุดท้ายนี้ยังมีอีกหลายวิธีที่ช่วยลดอาการซึมเศร้า และช่วยให้ชีวิตของเราดีขึ้นซึ่งผมจะมาเขียนในโอกาสหน้าล่ะกันครับ และขอให้ทุกๆคนที่เผชิญอยู่กับโรคนี้ของให้สามารถใช้ชีวิตอยู่กับมันได้อย่างปกติสุข และหาทางที่จะรับมือกับมันในทุกๆโอกาส ที่จะเกิดขึ้นด้วยครับ ถ้าเรารู้วิธีที่จะรับมือกับมันเราก็จะไม่แพ้แน่นอนครับ