Translate

อาหารเสริมคุณภาพราคาย่อมเยาว์

วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

ข้อเท้าพลิก


หลายครั้ง...ที่คนเราประสบปัญหาข้อเท้าพลิกและข้อเท้าแพลง
ข้อเท้าพลิก เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยที่สุดอย่างหนึ่งของเท้าและข้อเท้า ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในนักกีฬาและคนที่ใช้ข้อเท้ามากกว่าคนปกติ โดยการเดินบนพื้นที่ไม่เรียบ ตกลงมาจากที่สูง หรือแม้แต่การใส่ส้นสูง ก็ล้วนแล้วแต่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงได้ทั้งสิ้น มีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นข้อเท้าแพลง แต่หลังจากได้รับการรักษาแล้วยังมีอาการเจ็บต่อเนื่องอีกเป็นเวลานาน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง การบริหารที่ไม่เหมาะสม หรืออาการฉีกขาดที่รุนแรงมาก

อาการบาดเจ็บที่มักเข้าใจผิดว่าข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง
  1. ข้อเท้าแพลงแบบสูง
  2. กระดูกแตกภายในเท้าหรือข้อเท้า
  3. ผิวกระดูกอ่อนข้อเท้าบาดเจ็บ
3 ระดับความรุนแรงข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง
ระดับ 1 การบาดเจ็บภายในเส้นเอ็น แบบไม่มีการฉีกขาดให้เห็น
ระดับ 2 มีการฉีกขาดบางส่วนของเส้นเอ็น
ระดับ 3 มีการฉีกขาดแบบสมบูรณ์

ปฐมพยาบาลข้อพลิก ข้อแพลงเบื้องต้น
ทำได้โดยการประคบเย็น ยกเท้าสูง และการทำให้ข้อไม่เคลื่อนไหว อาจพิจารณาให้ใส่เฝือกระยะสั้นๆ หรือใช้อุปกรณ์ประคองข้อเท้าในช่วงแรก ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ แต่ผู้ป่วยที่เป็นนักกีฬาที่ใช้ข้อเท้ามาก อาจต้องพิจารณารักษาโดยการผ่าตัด

ดูแลข้อเท้า ด้วยการบริหาร
หลังจากข้อเท้าและเส้นเอ็นไม่มีอาการบวม และอาการเจ็บปวดลดลงแล้ว (ประมาณ ½ สัปดาห์หลังบาดเจ็บ) ควรทำการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า ดังนี้

การฝืนใช้เท้าต่อไปทั้ง ๆ ที่ข้อเท้าพลิกแม้จะนิด ๆ หน่อย ๆ อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนักปัจจุบันมีคนอเมริกันราว 25,000 คน ข้อเท้าพลิกในแต่ละวัน ซึ่งเท่ากับปีละ 9 ล้านคน ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งใช้ข้อมูลจากแพทย์และเทรนเนอร์ประจำทีมบาสเกตบอล NBA พบว่า เท้าพลิกเป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้มากที่สุดในหมู่นักบาสมืออาชีพ ดังนั้นจึงมีการจัดสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นหลายครั้ง 

          ดร.เจย์ เฮอร์เทล ซึ่งศึกษาเรื่องข้อเท้าที่มหาวิทยาลัยเวอร์วิเนีย กล่าวว่า เดิมเราเคยมองว่าข้อเท้าพลิกเป็นการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง หลังจากความเจ็บปวดและการบวมในช่วงแรก ๆ หายไป แต่เมื่อไม่นานมานี้ความเห็นดังกล่าวได้เปลี่ยนไป เพราะการรักษาที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้คุณต้องปวดและเท้าพลิกซ้ำ ๆ ไปอีกหลายปี ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของเหยื่อข้อเท้าพลิกต้องพบกับภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง 

          ในการศึกษาครั้งหนึ่งพบว่า 34 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เคยเท้าพลิกมาก่อนจะเกิดอาการซ้ำอีกในช่วงสามปีถัดมา ดร.เฮอร์เทลกล่าวว่า เส้นเอ็นที่ข้อเท้าของคุณเต็มไปด้วยตัวรับสัมผัส “ซึ่งมีหน้าที่บอกตำแหน่งข้อเท้าให้สมองรับรู้” เมื่อข้อเท้าพลิก เซ็นเซอร์พวกนี้บางส่วนจะเสียหายถาวร ผลก็คือ ข้อเท้าคุณสื่อสารกับสมองไม่รู้เรื่องอีกต่อไป

ฝึกทรงตัว
        แจ็ค แมคฟเลมีศัลยแพทย์ด้านกระดูกที่โรงพยาบาล Lankenau ในฟิลาเดลเฟียและแพทย์ประจำทีม 76ers กล่าว “เราพยายามฝึกให้นักกีฬาคอยสังเกตตัวเองเวลาที่ข้อเท้ามีการหมุน ข้อมูลนี้จะถูกส่งไปที่สมองได้เร็วขึ้น และสมองจะส่งสัญญาณต่อด้านออกมา”

          สิ่งที่คุณต้องทำคือ ยกเท้าข้างที่ปกติดีขึ้น และยืนบนเท้าอีกข้างในขณะแปรงฟัน ทำแบบนี้วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 นาที    การฝึกทรงตัวจะลดโอกาสข้อเท้าพลิกลงไปได้ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง

ชุดกายบริหารปกป้องข้อเท้า
          ท่าฝึกเหล่านี้จะช่วยให้สมองคุณคอยจับตาดูตำแหน่งของข้อเท้าและปรับการทรงตัวให้ดีขึ้น ดร.คยุงโม ฮัน จากมหาวิทยาลัยซานโฮเซสเตท ซึ่งเป็นผู้ออกแบบท่าฝึกชุดนี้ กล่าวฝึกตามนี้วันเว้นวัน นาน 4 สัปดาห์ ท่าละ 3 เซ็ต เซ็ตละ 15 ครั้ง หาแผ่นยางยาว 6 ฟุตมาผูกเข้ากับบานพับประตูด้านล่างให้สูงกว่าระดับข้อเท้าเล็กน้อย แล้วเอาปลายอีกด้านผูกเข้ากับสันกระดูกข้อเท้าข้างที่ไม่บาดเจ็บ

1. Front Pull  

          ยืนหันหลังให้ประตูแล้วเดินก้าวออกมาจนแผ่นยางตึงพอประมาณ วางเท้าข้างที่ไม่ได้ผูกยางไว้ข้างหน้าห่างไปสัก 2-3 ฟุต จิกปลายเท้าลงพื้น งอเข่าเล็กน้อยเปิดส้นเท้าขึ้น ลากเท้าข้างที่ผูกยางไปข้างหน้าจนนำเท้าอีกข้างไป 2-3 นิ้ว จากนั้นกลับสู่ท่าเริ่มต้น

 2. Back Pull

          หันหน้าเข้าหาประตู ยืนบนเท้าข้างที่ไม่ผูกยาง งอเข่าเล็กน้อย ปลายเท้าจิกพื้น และยกส้นเท้าไว้ เริ่มต้นด้วยการวางเท้าที่ผูกยางไว้หน้าเท้าอีกข้างประมาณ 1-3 นิ้ว แล้วลากเท้าข้างที่ผูกยางไปข้างหลัง 2-3 ฟุต เหยียดสะโพกและเข่าตามไป ปลายเท้าติดพื้นไว้ส้นเท้ากระดก จากนั้นย้อนกลับสู่ท่าเริ่มต้น

3. Crossover

          ยืนหันข้างที่ไม่เจ็บเข้าหาประตู แยกเท้าให้กว้างกว่าช่วงไหล่เล็กน้อย สะโพก และเข่างอเล็กน้อย เท้าข้างที่ไม่ผูกยางวางเป็นหลักไว้ ยกเท้าอีกข้างไขว้มา แล้วแตะปลายเท้าข้างเท้าอีกด้าน จากนั้นย้อนกลับสู่ท่าเริ่มต้น

4. Reverse Crossover

          ฝึกท่า Crossover ซ้ำ แต่ให้เปลี่ยนมาหันข้างที่บาดเจ็บเข้าหาประตูแทน - Laura Roberson

  สุดท้ายเป็นวิธีการป้องกันสำหรับผู้ที่ยังจำเป็นต้องใช้ข้อเท้าอยู่เป้นประจำในช่วงที่ยังไม่หายดี 100%