Translate

อาหารเสริมคุณภาพราคาย่อมเยาว์

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Protein : โปรตีน

Protein
      โปรตีน  คือ โปรตีนเป็นสารประเภทพอลิเพปไทด์ที่มีโครงสร้างของโมเลกุลที่ซับซ้อน 
โปรตีนมาจากภาษากรีก หมายถึง อันดับ1 เป็นสารอาหารที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
ส่วนย่อยของโปรตีนที่เล็กลงไปก็คือ กรดอะมิโน (Amino acid) คือกรดอะมิโนหลายตัวมารวมกันจึงเป็นโปรตีนนั่นเอง โดยในร่างกายของคนมีกรดตัวนี้อยู่ประมาณ 22-24 ตัว และในนี้มีอยู่ 9 ตัวที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง ต้องรับจากภายนอกเข้าไป นอกจากนี้ยังทีอีก 1ตัว ที่สำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กไม่สามารถสร้างได้เอง 
 ฉะนั้นโปรตีนจึงถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
   กรดอะมิโนจำเป็น
   กรดอะมิโนไม่จำเป็น
กรดอะมิโนจำเป็นมีอะไรบ้าง
 Isoleusine
 Leucine
 Lysine
 Methionine
 Phenylalanine
 Threonine
 Tryptopan
 Valine
 arginine    กึ่งจำเป็นร่างกายสร้างได้บ้าง
 Histidine   สำหรับเด็ก

    จริงแล้วโปรตีนนั้นไม่ได้พบได้แต่ในเนื้อสัตว์แต่เราสามารถพบได้ทั้งในพืชด้วย   เพียงแต่โปรตีนที่อยู่ในพืชมักจะมีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ และมีค่ากรดอะมิโนค่อนข้างต่ำ การรับประทานอาหารจำพวกพืชอย่างเดียวจึงมีโอกาสขาดโปรตีนบางชนิดได้ แต่จริงๆแล้วเราก็สามารถได้รับโปรตีนครบได้เพียงการทานอาหารจากพืชให้หลายชนิดผสมกัน 
    แต่การทานอาหารที่ให้ได้โปรตีนอย่างมีคุณภาพที่สุดนั้น เราควรที่จะทานเนื้อสัตว์ควบคู๋กับโปรตีนจากพืชเช่น ธัญพืชและถั่วต่างๆ เราก็จะได้รับกรดอะมิโนที่มีคุณภาพสูงสุดแล้ว

 ประโยชน์ของโปรตีน
  • พลังงานให้กับสมอง
  • ระบบประสาทดีขึ้น
  • ร่างกายมีความต้านทานโรค
 ความต้องการใน 1 วัน
ผู้ชายประมาณ  : 70 กรัม
ผู้หญิงประมาณ : 60 กรัม
ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Lactose : น้ำตาลนม

Lactose
   น้ำตาลแลคโตส คือน้ำตาลที่พบได้ในน้ำนมเท่านั้น เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ จากกาแลคโตสกับกลูโคส  บางคน อาจจะมีอาการท้องเสียเมื่อดื่มนม หรือแค่ท้องอืดท้องเฟ้อ เรามักจะเรียกว่าอาการแพ้นม  เพราะร่างกายขาดน้ำย่อย(เอนไซน์) สำหรับย่อยแลคโตส
    lactase เป็นเอนไซน์สำหรับย่อยน้ำตาลแลคโตส แล้วร่างกายจึงจะสามารถดูดซึมต่อไปได้ ในวัยเด็กร่างกายมักจะมีเอนไซน์ตัวนี้อยู่ เมื่ออายุมากขึ้นเอนไซน์ตัวนี้จะทำงานด้อยลง จึงเกิดอาการย่อยไม่หมด  แต่ในบางประเทศที่มีการดื่มนมเป็นประจำตั้งแต่สมัยโบราณแม้ในวัยผู้ใหญ่การทำงานของ
เอนไซน์ตัวนี้ก็ยังคงปกติ
    ปัจจุบันมีการเอานมที่สกัดเอาแลคโตสออกบางส่วน และเติม lactase เข้าไปเพื่อช่วยย่อยแลคโตส
นอกจากนี้ นมเปรี๊ยว เนเชอรัล ชีส จะมี จุรินทรีย์ ที่ย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ เหมาะกับผู้แพ้นมเช่นกัน
  
    ประโยชน์ของน้ำตาลแลคโตส
  • เป็นแหล่งพลังงาน
  • แปรสภาพเป็นไกลโคเจนเก็บในร่างกาย
  • เพิ่มจุรินทรีย์ที่มีประโยชน์ ช่วยสนับสนุนการดูดซึม แคลเซียม,แมกนีเซียม และอื่นๆ
     แหล่งที่พบ
  นม

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Fructose : น้ำตาลฟรุคโตส

Fructose
  ฟรุคโตส เป็นน้ำตาลอีกชนิดหนึ่ง ที่พบมากอยู่ในผลไม้ น้ำผึ้ง และเป็นส่วยหนึ่งของน้ำตาลทราย(ซูโครส) โดยน้ำตาลทรายจะถูกแยกออกมาเป็น กลูโคสและฟรุคโตสในลำไส้เล็ก
    ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัดต้องระวัง น้ำตาลฟลุคโตสจะถูกดูดซึมในลำไส้เล็กและส่งต่อไปที่ตับ แต่บางส่วนจะถูกแปรสภาพเป็น กลีเซอรอล และ อัลฟา กลีเซอรอส ฟอสฟอริค แอซิด ซึ่งเป็นไขมัน ดังนั้นน้ำตาลฟลุคโตส จึงเปลี่ยนเป็นไขมันได้ง่ายกว่าน้ำตาลกลูโคส
   ฉะนั้นการบริโภคน้ำตาลทรายหรือผลไม้มากจึงอาจจะทำให้เกิดความอ้วนได้ง่ายกว่าการบริโภคแป้งที่มีกลูโคส

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Oligosaccharide : โอลิโกแซคคาไรด์

Oligosaccharide
  โอลิโกแซคคาไรด์  เกิดจากการรวมตัวของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เป็นอาหารของจุรินทรีย์แลคโตบาซิลลัส ช่วยให้จุรินทรีย์ขยายพันธุ์ ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง
น้ำตาลโอลิโกแซคคาไรด์ ปัจจุบุัน มีจำหน่ายหลายชนิดคือ
  • ฟรุคโตโอลิโก     เป็นเส้นใยชนิดละลายน้ำ ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในร่างกาย
  • ไอโซมอลโตโอลิโก 
  • โอลิโกจากถั่วเหลือง
  • กาแลคโตโอลิโก
 ประโยชน์  
  • เพิ่มจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส 
  • สนับสนุนการสร้างวิามินต่างๆ
  • ทำให้ภูมิต้านทานดีขึ้น
อาหารที่เป็นแหล่ง
น้ำตาลทราย, นมเปรี๊ยว, น้ำอัดลม, พุดดิ้ง  ข้าวสาลี ข้าวไรย์ หัวหอม แอสปารากัส Artichoke, กล้วย, ถั่วเหลือง Burdock และพืชประเภทพืชหัว
 

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Carbohydrate : คาร์โบไฮเดรท

Carbohydrate

    น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว(Monosaccharide)จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงาน ก็คือน้ำตาลชนิดที่ไม่ได้รวมหรือจับอยู่กับน้ำตาลชนิดอื่น
น้ำตาลชนิดที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ 
กลูโคส (glucose) เป็นพลังงานหลักให้กับร่างกาย
ฟรุคโตส (fructose) เป็นน้ำตาลที่มีความหวานมากที่สุดพบมากในผลไม้ น้ำผึ้ง และน้ำอสุจิ
กาแลคโทส (galactose) ปกติมักจะจับอยู่กับน้ำตาลชนิดอื่นในลักษณะของโมเลกุลคู่หรือซ้อน

    น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharide) คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่จับกันกลายเป้นน้ำตาลอีกชนิดหนึ่ง
คือ
มอลโตส  คือ กลูโคสจับกับกลูโคส จะพบมากในข้าวมอลท์
ซูโครส คือ กลูโคสจับกับฟรุคโตส เป็นน้ำตาลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งก็คือน้ำตาลทราย
แลคโตส คือ กลูโคสจับกับกาแลคโทส จะพบในน้ำนม
 
    น้ำตาลโมเลกุลซ้อน (polysaccharides) เป็นน้ำตาลที่มีโมเลกุลจับตัวกันเป็นหลายร้อนหลายพัน เป็นเส้นไยอาหารจากพืชชนิดย่อยไม่ได้ พบมากในแป้งของธัญพืชและหัวเผือกหัวมัน จะแปรสภาพเป็น ไกลโคเจน เก็บสะสมในร่งกายของสัตว์ และทำหน้าที่เป็นกระดูกให้พืช คือ เซลลูโลส(cellulose ),
เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose ) และ เปปติน (peptin )

      น้ำตาลทุกชนิดจะต้องถูกย่อยเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อนที่จะถูกดูดซึม การย่อยจะเริ่มย่อยจากน้ำลายในปากก่อนส่งต่อไปที่กระเพาะ และไปที่ลำไส้เล็กตอนบน ขั้นตอนการแปรสภาพจะมีลักษณะแตกต่างกันตามชนิดของน้ำตาล สุดท้ายจะได้ออกมาเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ และ น้ำ
  น้ำตาล 1 กรัม จะให้ พลังงาน 1 กิโลแคลอลี่ 
      ตับและกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจน สะสมไว้ แต่การสะสมมีจำกัด น้ำตาลที่ยังเหลืออยู่อีกจะถูกแปลงไปเป็นไขมันสะสมไว้ในร่างกาย
      ทั้งสมอง ระบบประสาท เม็ดเลือดแดง และกล้ามเนื้อ ต่างก็ต้องการกลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน
หากขาดพลังงานร่างกายจะด้อยประสิทธภาพลง
ผู้ต้องการลดน้ำหนักโดยลดน้ำตาลต้องได้รับน้ำตาลน้อยกว่าวันละ 100 กรัม จึงจะได้ผล
  
ประโยขน์ของน้ำตาล
- เป็นแหล่งพลังงานให้กับสมองและประสาท
- ช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- รักษาอุณหภูมิในร่างกาย
- เติมพลังงานให้กับร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค
ความต้องการใน 1 วัน
ผู้ชายประมาณ  : 400 กรัม
ผู้หญิงประมาณ : 300 กรัม


อาหารที่เป็นแหล่ง ได้แก่
แป้งสาลี ข้าว ขนมปัง บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ข้าวโพด กล้วย สปาเก็ตตี้